พระพุทธตรีโลกเชษฐ์ วัดสุทัศเทพวราราม กรุงเทพมหานคร
พระพุทธตรีโลกเชษฐ์ เป็นพระพุทธรูปสมัยรัตนโกสินทร์ ปางมารวิชัย วัสดุโลหะ หน้าตักกว้าง ๓ วา ๑๗ นิ้ว สูง ๔ วา ๑๘ นิ้ว ปัจจุบัน ประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ วัดสุทัศนเทพวราราม
พระอุโบสถเริ่มก่อสร้างใน พ.ศ. ๒๓๗๗ ตรงกับรัชกาลที่ ๓ มีพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา ต่อมาคือพระยา พิชัยญาติ(ทัต บุนนาค) เป็นแม่กองงาน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระพิทักษ์เทเวศร์เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างเป็นพระอุโบสถที่มีความยาวที่สุดในไทย ผนังภายในเขียนภาพจิตรกรรมฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ ๓
เมื่อสถาปนาพระอารามแล้ว กรมหมื่นณรงคหริรักษ์ได้สร้างพระพุทธประธานเป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่สุดในบรรดาที่สร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ โปรดอัญเชิญพระศรีศาสดาซึ่งอยู่บนฐานเดิมไปยังวัดบวรนิเวศวิหาร แล้วอัญเชิญพระพุทธรูปหล่อใหม่ขึ้นประดิษฐานแทน
รัชกาลที่ ๔ ถวายพระนามว่า "พระพุทธตรีโลกเชษฐ์" และ พ.ศ. ๒๔๐๗ โปรดสร้างพระอสีติมหาสาวกจำนวน ๘๐ องค์ สร้างด้วยปูนปั้นลงสี นั่งพนมมือฟังพระ บรมพุทโธวาทเบื้องพระพักตร์องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า รอบพระอุโบสถมีซุ้มสีมาทรงมณฑปเจดีย์ตั้งอยู่บนกำแพงแก้ว ๘ ซุ้ม
พระพุทธตรีโลกเชษฐ์ เป็นพระพุทธรูปสมัยรัตนโกสินทร์ ปางมารวิชัย วัสดุโลหะ หน้าตักกว้าง ๓ วา ๑๗ นิ้ว สูง ๔ วา ๑๘ นิ้ว ปัจจุบัน ประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ วัดสุทัศนเทพวราราม
พระอุโบสถเริ่มก่อสร้างใน พ.ศ. ๒๓๗๗ ตรงกับรัชกาลที่ ๓ มีพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา ต่อมาคือพระยา พิชัยญาติ(ทัต บุนนาค) เป็นแม่กองงาน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระพิทักษ์เทเวศร์เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างเป็นพระอุโบสถที่มีความยาวที่สุดในไทย ผนังภายในเขียนภาพจิตรกรรมฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ ๓
เมื่อสถาปนาพระอารามแล้ว กรมหมื่นณรงคหริรักษ์ได้สร้างพระพุทธประธานเป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่สุดในบรรดาที่สร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ โปรดอัญเชิญพระศรีศาสดาซึ่งอยู่บนฐานเดิมไปยังวัดบวรนิเวศวิหาร แล้วอัญเชิญพระพุทธรูปหล่อใหม่ขึ้นประดิษฐานแทน
รัชกาลที่ ๔ ถวายพระนามว่า "พระพุทธตรีโลกเชษฐ์" และ พ.ศ. ๒๔๐๗ โปรดสร้างพระอสีติมหาสาวกจำนวน ๘๐ องค์ สร้างด้วยปูนปั้นลงสี นั่งพนมมือฟังพระ บรมพุทโธวาทเบื้องพระพักตร์องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า รอบพระอุโบสถมีซุ้มสีมาทรงมณฑปเจดีย์ตั้งอยู่บนกำแพงแก้ว ๘ ซุ้ม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น